วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Sounding Confusion

Happiness Imagination ร่วมแสดงผลงาน Sound Installation อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยงานครั้งนี้มีแนวคิดว่า "Sounding Confusion" หรือ "เสียงสับสน สับสนเสียง สรรพเสียง" ซึ่งพวกเราได้สร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบเกมส์ เพื่อให้คนที่เข้าชมงานได้มีปฏิสัมพันธ์กับตัวงานของพวกเรา โดยงานนี้มีชื่อและแนวคิดดังนี้

"RED GREEN BLUE YELLOW
น้ำเงิน แดง เหลือง เขียว"

โดยปกติคนเราใช้ ตาดู หูฟัง สมองคิด

การเชื่อมต่อระหว่างสมองและประสาทสัมผัสจึงเป็นเรื่องที่สามารถควบคุมได้

แต่ถ้าสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินถูกบิดเบือน หักเห ให้กลายเป็นความเข้าใจที่ผิด

คุณจะยังสามารถเป็นผู้ควบคุมร่างกายและจิตใจของตัวคุณ ให้กำหนดผลในการตัดสินใจได้หรือไม่



วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง 4

ปล่อยแสง 4 Supermarket of Ideas ''
ครั้งนี้ HAPPINESS IMAGINATION ร่วมออกบูธแสดงผลงานอีกเช่นเคย
งานนี้มีชื่อว่า
POINT of VIEW ฟ้าเดียวกัน ในมุมที่แตกต่าง












ผลงานชิ้นนี้เกิดจากความหลงใหลกรุงเทพฯในยามค่ำคืน และความหลงใหลในเสียงดนตรี ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการทำเพลงประกอบ ซึ่งใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการให้อารมณ์และความรู้สึก

"แม้เพียงภาพอาจสร้างอารมณ์ได้ไม่เท่ากับการได้ฟังเสียงดนตรีเคล้าคลอไปกับจินตนาการ"

แสดงออกถึงมุมมองของกรุงเทพมหานคร ในยามค่ำคืน

POINT of VIEW ฟ้าเดียวกัน ในมุมที่แตกต่าง

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง3 ณ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ

อีกครั้ง กับการจัดวางงานปล่อยแสง3 ครั้งนี้ย่อส่วนงานเหลือเพียงแค่ มุมสะท้อนที่โปร่งแสง และเปลี่ยนการจัดวางใหม่เพื่อให้เข้ากับ แนวคิดของงาน และเหมาะสมกับสถานที่













สวยงาม จนไม่กล้ารื้อถอน

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทศกาลปล่อยแสง 3 @TCDC 17-28 June 09















เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ

เพราะเด็กในวันนี้ จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ดังนั้นหากพลังทางความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขีดจำกัดของพวกเขาได้รับการสนับ สนุนให้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างเต็มที่ อนาคตที่เด็กฉลาดเหล่านี้จะก้าวขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชาติย่อมไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ขอทำหน้าที่ผู้ใหญ่ใจดี เปิดเวทีสร้างสรรค์ มอบโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ค้นพบหนทางสู่การเป็นผู้ใหญ่มืออาชีพใน เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ กิจกรรมเด่นภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” ที่จะช่วยให้นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศได้พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบ การรุ่นใหม่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้จากมันสมองและสองมือ พร้อมเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจได้รู้จักกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ไฟแรงจาก ทุกสาขาวิชา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ธุรกิจที่แข็งแกร่งพร้อมขับเคลื่อนสังคมให้เจริญก้าว หน้าต่อไป



กลุ่ม HAPPINESS IMAGINATION ได้มีโอกาสไปจัดแสดงในงานครั้งนี้ด้วย




รายละเอียดงาน
1. มุมสะท้อนที่โปร่งแสง
จากแรงบันดาลใจของงานวัด ที่แปรเแลี่ยนไปในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของแนวความคิดแบบวัตถุนิยมที่กำลังส่งผลกระทบต่อ สังคมไทย ผ่านขวดกลาลเวลา (Time Capsule) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของเสียงในสังคม และเชื้อชวนให้ฟังกระดกขวดเข้าหู แล้วเงี่ยฟังความเป็นจริง

2.(กรอบ)ธรรมชาติ
เสียงมีผลต่อความรุ้สึก
เช่นเดียวกับสี ศิลปินจึงสร้างสรรค์ผลงานโดยได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตคนเมืองที่ถูกตีกรอบ ไว้ด้วยความเจริญ ความสะดวกสบาย ธรรมชาติจึงค่อยๆเลือนหายไปจากความเป็นเมือง ศิลปินสร้าง(กรอบ)ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อ ให้ผู้เข้าชมได้ร่วมจินตนาการและรับรู้ถึงความแตกต่างของความสวยงามและสภาพ แวดล้อมของสังคมปัจจุบัน

3. เก้าอี้ขาวในห้องแดง

แรงบันดาลใจจากนิยายของสุวรรณี สุคนธา ที่กล่าวถึงนางเอกผู้มีอาชีพมัฑนากร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ด้วยหน้าที่ของอาชีพมัณฑนากรนั้นจะเป้นผู้ออกแบบแต่ละห้องให้เป็นไปตามความ ต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งการออกแบบแต่ละห้องนั้นจะส
อดคล้องกับเอกลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ณ ประเด็นนี้เอง ที่ผลงานเก้าอี้ขาวในห้องแดงได้ทดลอง สร้าง ห้อง3ห้อง ในมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นพื้นที่สะท้อนนัยยะที่แตกต่าง ทางกายภาพ สภาวะ และเวลา อันเกิดจากการรับรุ้ที่เปลี่ยนไปของผู้คนกับเสียงและพื้นที่ ที่ต่างกัน

4. ท้องพระโรง

เพราะ ปัจจุบัน คืออดีตของอนาคต ศิลปิน ต้องการที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวของอดีตกับปัจจุบันที่เกิดขึ้นในห้องทรงงาน ณ ท้องพระโรง ตำหนักพรรณรายเรื่องราวในอดีตนั้นคือเหตุผลของปัจจุบัน และความเป็นไปในอนาคต ผลงานชิ้นนี้ได้สร้างบทสนทนาระหว่าง ภาพกับเสียง ที่เกิดขึ้นผ่านโบราณสถานที่มีประวัิิติศาสตร์และเรื่องเล่าต่างๆทั้งในแง่ ของความลี้ลับ ความเชื่อ ตลอดจนวิถีของแต่ละบุคคลที่อาศัยอยุ่ในรั้ววังเพื่อให้ผู้คนในสมัยปัจจุบัน ได้รู้สึกและรับรู้ถึงวิถึชีวิตและจำลองบรรยากาศที่เิกิดขึ้นในอดีต


วันเปิดงาน


ดนตรี ประกอบ หนังเงียบ {Improvisation for short film} At TCDC


เทศกาล สยามาภิวัฒน์ (Siamization)
เมื่อโลกสมัยใหม่เปล่งสำเนียงเสียงดนตรีไทย ปรากฏการณ์ครั้งแรกของงานเทศกาลแสดงดนตรีไทยร่วมสมัย ที่จะเปลี่ยนความคิดคุณที่ว่าดนตรีไทยเป็นเรื่องของอดีตหรือล้าสมัย และความเชื่อที่ว่า ดนตรีไทย ดนตรีสากล และเทคโนโลยี ท างานร่วมกันไม่ได้


Siamization Experimental Forum : ดนตรี ประ กอบ หนังเงียบ
กลุ่ม HAPPINESS IMAGINATION ได้ัรับโอกาสจาก TCDC ในการเข้าร่วมงาน เทศกาล สยามาภิวัฒน์ (Siamization) ในงานนี้กลุ่มของเรา ได้เล่นดนตรีประกอบหนังเงียบ โดยเล่นดนตรีสดไปพร้อมกับการฉายหนัง และ ได้รับเกียรติให้เล่นประกอบ หนังสั้นเรื่อง "นรสิงห์ อวตาร" (หนังสั้นโดยคุณวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง) การเล่นดนตรีประกอบครั้งนี้ เป็นการร่วมเล่นระหว่าง ดนตรีไทย และ ดนตรีสากล เสียงดนตรีประกอบหนังเงียบจึง สามารถสร้างอรรถรสที่แตกต่าง และสร้างความรู้สึกแปลกใหม่แก่ผู้เข้าขมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผู้คน ดนตรี ชีวิต

ภาพ/เสียง/พื้นที่ กับวิถีแห่งการรับรู้ตัวตนในสังคม


"La fête du Temp"
งานLa fête du Temp เป็นงานการจัดวางทางเสียง ที่ต้องการนำเสนอมุมมองหนึ่งของค่านิยมในสังคมผ่านรูปแบบของงานวัด ซึ่งประกอบไปด้วยการละเล่นต่างๆ การออกร้าน การฟังเทศน์ฟังธรรม การแสดงต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของค่านิยมของวัฒนธรรมตะวันตก และที่ขาดเสียมิได้ก็คือ กิจกรรมของการบริจาค ในงานชิ้นนี้ ศิลปินได้ใช้ตู้บริจาคเป็นสื่อนำเสียงที่ผู้ชมสามารถที่จะ "ทำบุญ" เสียงได้ด้วยตนเอง

องค์ประกอบของ La fête du Temp นี้ ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมที่กำลังเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ค่อยๆสร้างความเสื่อมโทรมให้กับความบริสุทธิ์ของความเชื่อ และความสวยงามที่เคยมีในวัฒนธรรมไทย ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าชมได้ตระหนักและ เข้าใจถึงผลกระทบของสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นรอบตัว ในปัจจุบัน


ศิลปิน : ศิรษา บุญมา



" แว่ว "

งานจัดแสดงชิ้นนี้เป็นความพยายามที่จะสร้าง"แผนที่เสียง" ของนิทรรศการพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทยที่จัดแสดงอยู่ในพื้นที่ชั้นห้า ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) โดยกลุ่มเสียงที่นำมาจัดแสดง สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่หัวข้อ สอดคล้องกับเนื้อหาของนิทรรศการ ได้แก่ โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ภาษาและอักษร

ศิลปินผู้สร้างเสียงได้เพิ่มมิติของการตีความเสียงผ่านการรับรู้ของศิลปิน อาทิเช่น เสียงกังวานของภาชนะดินเผา ก็จะถูกตีความในแง่มุมที่เป็นภาชนะ ที่เก็บเสียงและเก็บประสบการณ์ของผู้คนที่อยู่ในช่วงเวลานั้นๆ ในส่วนของจารึก ศิลปินจะพยายามที่จะสร้างสภาวะของเสียงขณะที่ผู้จารึกกำลังทำการจารึกหลักศิลาเหล่านั้น โดยการตีความในลักษณะนี้จะทำให้ผู้ชมได้มีโอกาสสร้างจินตนาการและประสบการณ์ใหม่ให้กับการเข้าชมนิทรรศการ



ศิลปิน : พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์ และ พร้อมวุฒิ อัศวโสภณกุล




" ครอบครู ( 2551) "

พิธีกรรมสำคัญที่นักศึกษาศิลปะของมหาวิทยาลัยศิลปากรจะต้องเข้าร่วมก็คือ พิธีครอบครู พิธีที่ศักดิ์ศิทธิ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของจุดเริ่มต้นที่นักศึกษาจะต้องเปลี่ยนจากการเป็นนักเรียนปกติมาเป็นนักศึกษาศิลปะที่มีความคิดสร้างสรรค์ พิธีนี้ยังเป็นการต้อนรับนักศึกษาให้ เข้ามาเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเรียนรู้สิ่งที่อาจารย์ตั้งใจจะมอบให้ อาจารย์จะกระตุ้นให้นักศึกษาแต่ละคนสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจารย์ทุกคนคาดหวังว่านักศึกษา จะสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นศิลปินที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จได้ ศิลปะจัดวาง ครอบครู สำรวจจุดเริ่มต้นของนักศึกษาและแนวคิดที่ว่า นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกจะมีโอกาสพัฒนาตัวเอง จนกระทั่งเป็นศิลปินที่ดีได้ ผลงานนี้จะนำเสนอและหยอกล้อกับจุดเริ่มต้นและ การเล่าเรียนหาความรู้ของนักศึกษา

ในงานศิลปะชิ้นนี้ เสียงจะถูกใช้เป็นทั้งสื่อและวิธีการเสียง จะถูกเปลี่ยนจากคลื่นในอากาศให้เป็นวัตถุที่ผู้ชมสามารถจับต้องและเล่นกับมันได้ อย่างไรก็ดี จะมีเพียงเสียงๆเดียว ที่อยู่ ณ ตำแหน่งเฉพาะที่ผู้ชมสามารถได้ยิน เป็นเสียงที่แสดงให้เห็นถึงภาวะการเปลี่ยน จากนักเรียนปกติมาเป็นนักศึกษา




















ศิลปิน : อภิรดี เกษมสุข และ ภัทรพงศ์ ศรีปัญญา

ศิลปากรวิจัย ครั้งที่2 เสน่ห์ศิลปากร ผัสสะแห่งศิลป์

เพราะศิลปะเป็นการรับรู้ของทุกโสตประสาท เสียงนำไปสู่ภาพ ภาพนำไปสู่ความรู้สึก ความรู้สึกนำไปสู่จินตนาการ จินตนาการนำไปสู่ความอิ่มเอมภายในใจ อาจกล่าวได้ว่า ศิลปะที่สามารถสื่อความหมายได้ เป็นงานศิลปะที่ค่อยๆซึบซาบเข้าไปอยู่ในทุกอณุของการรับรู้ของผู้ชม

การสร้างงานศิลปะในโครงการ เสียงกับศิลป์ในศิลปากรนี้ ศิลปินจากสายดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปนิก และออกแบบ ให้ความสำคัญกับการใช้ทุกโสตประสาทของการรับรู้ในการสร้างผลงานร่วมกัน การที่ผลงานสามารถกระตุ้นการรับรู้ในทุกๆมิติของผู้ชมได้ เชื่อว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีอิสระในการตีความหมายของผลงาน และสามารถสร้างบทสนทนากับผลงานได้อย่างมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น



เก้าอี้ขาวในห้องแดง
ได้ัรับแรงบันดาลใจจาก นิยายของ สุวรรณี สุคนธา ที่กล่าวถึงนางเอกผู้เป็นมัณฑนากร ออกแบบและตกแต่งภายใน ด้วยหน้าที่ของอาชีพมัณฑนากรนั้นจะเป็นผู้ออกแบบแต่ละห้องให้เป็นดั่งความ ต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งการออกแบบแต่ละห้องนั้นจะสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ณ ประเด็นนี้เองที่ผลงานเก้าอี้ขาวในห้องแดงได้ทดลอง สร้าง ห้อง3ห้อง ในมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นพื้นที่สะท้อนนัยยะที่แตกต่างทางกายภาพ สภาวะ และเวลา อันเกิดจากการรับรู้ที่เปลี่ยนไปของผู้คนกับเสียงและพื้นที่ ที่แตกต่างกัน



Artist : เตยงาม คุปะตะบุตร (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์) Sound Collaborator : ภัทรพงศ์ ศรีปัญญา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



มิ่งหลี
ร้านมิ่งหลีเป็นร้านอาหารเก่าแก่ อยู่ในอาคารแถวห้องหัวมุม 2คูหาติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระโดยร้านยังคงรูปแบบอาคารเดิมซึ่งสามารถสังเกตได้จากพื้นของชั้นที่หนึ่งที่ใช้วัสดุเป็นหินขนาดใหญ่รวมไปถึงผนังของร้านที่ยังคงเปลือยให้เห็นผนังไม้เก่าประดับตกแต่งด้วยภาพวาดภาพเขียนและบทกวีของศิลปินชื่อดังหลายท่านที่เป็นขาประจำของร้านมิ่งหลีตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากรผนังของร้านจึงเปรียบเหมือนห้องภาพของศิลปะล้ำค่าที่เล่าเรื่องผ่านความทรงจำของผู้วาดที่มีความผูกพันกับร้านมิ่งหลีมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปีร้านมิ่งหลีเป็นกิจกรรมภายในครอบครัวที่สืบทอดกันมาหลายรุ่นสูตรหรือตำรับอาหารจึงเป็นการส่งผ่านกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกลายเป็นอาหารสูตรโบราณที่มีรสชาติอร่อยหาทานได้ยากซึ่งมักจะพบอาจารย์จาคณะจิตรกรรมประติมากรรมภาพพิมพ์และภาพไทยและศิลปินต่างๆเสวนาพูดคุยกันอย่างสนุกสนานกลายเป็นเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ของย่านท่าพระที่มีชื่อเสียง
บรรยากาศของร้านที่เต็มไปด้วยความกันเองก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การสร้างผลงานดีๆโดยบันทึกเสียงบรรยากาศภายในร้านมิ่งหลีและบรรจุใส่ไว้ในขวดเปล่าที่ได้มาจากทางร้านต่อจานนั้นก็ได้ติดตั้งขวดเก็บเสียงเหล่านี้ บนชั้นหนังสือภายในห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยเลือกชั้น ML หรือ Music Literature ซึ่งมีหนังสืออยู่น้อยมาก สุดท้ายซึ่งเป็นการพ้องกันโดยบังเอิญ ML สามารถเป็นอักษรย่อมากจาก Ming-Lee ได้อีกด้วย



Artist :คงศักดิ์ กุลกลางดง (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)
Sound Collaborator :พร้อมวุฒิ อัศวโสภณกุล
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)





สวนแก้ว
ณ สถานที่สวนแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นที่พักผ่อน ของนักศึกษามหาวทิยาลัยศิลปากร ศิลปินจึงได้จัดตั้งเก้าอี้ที่ทำขึ้นจากผักตบชวา และสร้างบบรยากาศที่เป็นกันเอง ร่วมด้วย นักศึกษาดุริยางคศาสตร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ เพื่อเป็นหนึ่งใน การจัดวาง ณ สวนแก้ว เป็นงานในรูปแบบของ interactive ซึ่งผู้ที่เดินผ่านไป ผ่านมาสามารถร่วมสนุก โดยการนำกล่องทรงกลม วางลงช่องบนโต๊ะ จะเกิดเสียงที่เป็นเสียงธรรมชาติ รายล้อมอยู่ ณ บริวเณสวนแก้ว ถือเป็นการช่วยสร้างบบรยากาศให้รู้สึกถึงความร่มรื่น สบายตา สบายใจ และสบายหู ต่อผู้ที่อยู่ในบริวเณ สวนแก้ว

Artist : ร้อยตำรวจเอก อนุชา แพ่งเกษร (คณะมัณฑนศิลป์)
Sound Collaborator :ธีร์ สิงหกลางพล
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



คำอาจารย ์ ศิลป์
คำอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่นักศึกษาศิลปากรเคารพและบูชา ซึ่งเป็นคำที่มีความหมาย และสามารถ นำไปใช้ได้กับชีวิตจริง อีกทั้งเป็นคำที่ไพเราะสวยงาม ในงานนี้นอกจากนำคำอาจารย์ศิลป์มาสร้าเป็นผลงานแล้ว ยังนำเพลง ประจำมหาวิทยาลัยคือเพลง Santa Lucia มาเรียบเรียงใหม่ อีกทั้งยังแต่งเพลงขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้ผู้คนที่เข้าชมงาน ได้ซึมซาบความรู้สึก และความสวยงามในความหมายของคำอาจารย์ศิลป์ " ศิลปะืยืนยาว ชีวิตสั้น { Ars Longa Vita Brevis} "



Designer : โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ (คณะมัณฑนศิลป์)
Sound Collaborator : ศิรษา บุญมา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



ท้องพระโรง ตำหนักพรรณราย
เพราะ ปัจจุบัน คือ อดีต ของอนาคต ศิลปินต้องการเชื่อมโยงเรื่องราวของอดีตกับปัจจุบันที่เกิดขึ้นในสถานที่คือ ท้องพระโรง จำหนักพรรณราย เรื่องราวในอดีตนั้นคือเหตุผลของปัจจุบัน และความเป็นไปในอนาคต
ผลงานชิ้นนี้ได้สร้างบทสนทนาระหว่างภาพกับเสียงที่เกิดขึ้นผ่านโบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าต่างๆ ืั้งในแง่ของความลี้ลับ ความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของแต่ละบุคคลที่อาศัยอยู่ในรั้ววัง เพื่อให้ผู้คนในสมัยปัจจุบันได้รู้สึก และรับรู้ถึงวิถีชีวิต และจำลองบรรยากาศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต


Artist : เอนกพงษ์ สุวรรณพุฒ ศุภชัย ปัญญากาวิน สินา วิทยวิโรจน์
และน้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์ (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)

Sound Collaborator : ณัฐพล เพียรเพ็ญศิริวงศ์
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



เสียงกระซิบจากประติมากรรม
ประติมากรรม เป็นศิลปกรรมที่แสดงความงามทางรูปทรง ผ่านการรับรู้ได้ด้วยสายตา และการสัมผัสด้วยมือ สู่จิตใจ จากความงามดังกล่าวก็น่าจะแปลค่ามาเป็นสนุทรีย์ของเสียงที่มาจากรูปทรงประติมากรรมได้โดยตรง







Artist : นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ (คณ
จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)
Sound Collaborator : วรงค์ ราชปรีชา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)