วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ศิลปากรวิจัย ครั้งที่2 เสน่ห์ศิลปากร ผัสสะแห่งศิลป์

เพราะศิลปะเป็นการรับรู้ของทุกโสตประสาท เสียงนำไปสู่ภาพ ภาพนำไปสู่ความรู้สึก ความรู้สึกนำไปสู่จินตนาการ จินตนาการนำไปสู่ความอิ่มเอมภายในใจ อาจกล่าวได้ว่า ศิลปะที่สามารถสื่อความหมายได้ เป็นงานศิลปะที่ค่อยๆซึบซาบเข้าไปอยู่ในทุกอณุของการรับรู้ของผู้ชม

การสร้างงานศิลปะในโครงการ เสียงกับศิลป์ในศิลปากรนี้ ศิลปินจากสายดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปนิก และออกแบบ ให้ความสำคัญกับการใช้ทุกโสตประสาทของการรับรู้ในการสร้างผลงานร่วมกัน การที่ผลงานสามารถกระตุ้นการรับรู้ในทุกๆมิติของผู้ชมได้ เชื่อว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีอิสระในการตีความหมายของผลงาน และสามารถสร้างบทสนทนากับผลงานได้อย่างมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น



เก้าอี้ขาวในห้องแดง
ได้ัรับแรงบันดาลใจจาก นิยายของ สุวรรณี สุคนธา ที่กล่าวถึงนางเอกผู้เป็นมัณฑนากร ออกแบบและตกแต่งภายใน ด้วยหน้าที่ของอาชีพมัณฑนากรนั้นจะเป็นผู้ออกแบบแต่ละห้องให้เป็นดั่งความ ต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งการออกแบบแต่ละห้องนั้นจะสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ณ ประเด็นนี้เองที่ผลงานเก้าอี้ขาวในห้องแดงได้ทดลอง สร้าง ห้อง3ห้อง ในมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นพื้นที่สะท้อนนัยยะที่แตกต่างทางกายภาพ สภาวะ และเวลา อันเกิดจากการรับรู้ที่เปลี่ยนไปของผู้คนกับเสียงและพื้นที่ ที่แตกต่างกัน



Artist : เตยงาม คุปะตะบุตร (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์) Sound Collaborator : ภัทรพงศ์ ศรีปัญญา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



มิ่งหลี
ร้านมิ่งหลีเป็นร้านอาหารเก่าแก่ อยู่ในอาคารแถวห้องหัวมุม 2คูหาติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยศิลปากรวังท่าพระโดยร้านยังคงรูปแบบอาคารเดิมซึ่งสามารถสังเกตได้จากพื้นของชั้นที่หนึ่งที่ใช้วัสดุเป็นหินขนาดใหญ่รวมไปถึงผนังของร้านที่ยังคงเปลือยให้เห็นผนังไม้เก่าประดับตกแต่งด้วยภาพวาดภาพเขียนและบทกวีของศิลปินชื่อดังหลายท่านที่เป็นขาประจำของร้านมิ่งหลีตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากรผนังของร้านจึงเปรียบเหมือนห้องภาพของศิลปะล้ำค่าที่เล่าเรื่องผ่านความทรงจำของผู้วาดที่มีความผูกพันกับร้านมิ่งหลีมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปีร้านมิ่งหลีเป็นกิจกรรมภายในครอบครัวที่สืบทอดกันมาหลายรุ่นสูตรหรือตำรับอาหารจึงเป็นการส่งผ่านกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกลายเป็นอาหารสูตรโบราณที่มีรสชาติอร่อยหาทานได้ยากซึ่งมักจะพบอาจารย์จาคณะจิตรกรรมประติมากรรมภาพพิมพ์และภาพไทยและศิลปินต่างๆเสวนาพูดคุยกันอย่างสนุกสนานกลายเป็นเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ของย่านท่าพระที่มีชื่อเสียง
บรรยากาศของร้านที่เต็มไปด้วยความกันเองก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การสร้างผลงานดีๆโดยบันทึกเสียงบรรยากาศภายในร้านมิ่งหลีและบรรจุใส่ไว้ในขวดเปล่าที่ได้มาจากทางร้านต่อจานนั้นก็ได้ติดตั้งขวดเก็บเสียงเหล่านี้ บนชั้นหนังสือภายในห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยเลือกชั้น ML หรือ Music Literature ซึ่งมีหนังสืออยู่น้อยมาก สุดท้ายซึ่งเป็นการพ้องกันโดยบังเอิญ ML สามารถเป็นอักษรย่อมากจาก Ming-Lee ได้อีกด้วย



Artist :คงศักดิ์ กุลกลางดง (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)
Sound Collaborator :พร้อมวุฒิ อัศวโสภณกุล
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)





สวนแก้ว
ณ สถานที่สวนแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นที่พักผ่อน ของนักศึกษามหาวทิยาลัยศิลปากร ศิลปินจึงได้จัดตั้งเก้าอี้ที่ทำขึ้นจากผักตบชวา และสร้างบบรยากาศที่เป็นกันเอง ร่วมด้วย นักศึกษาดุริยางคศาสตร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ เพื่อเป็นหนึ่งใน การจัดวาง ณ สวนแก้ว เป็นงานในรูปแบบของ interactive ซึ่งผู้ที่เดินผ่านไป ผ่านมาสามารถร่วมสนุก โดยการนำกล่องทรงกลม วางลงช่องบนโต๊ะ จะเกิดเสียงที่เป็นเสียงธรรมชาติ รายล้อมอยู่ ณ บริวเณสวนแก้ว ถือเป็นการช่วยสร้างบบรยากาศให้รู้สึกถึงความร่มรื่น สบายตา สบายใจ และสบายหู ต่อผู้ที่อยู่ในบริวเณ สวนแก้ว

Artist : ร้อยตำรวจเอก อนุชา แพ่งเกษร (คณะมัณฑนศิลป์)
Sound Collaborator :ธีร์ สิงหกลางพล
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



คำอาจารย ์ ศิลป์
คำอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่นักศึกษาศิลปากรเคารพและบูชา ซึ่งเป็นคำที่มีความหมาย และสามารถ นำไปใช้ได้กับชีวิตจริง อีกทั้งเป็นคำที่ไพเราะสวยงาม ในงานนี้นอกจากนำคำอาจารย์ศิลป์มาสร้าเป็นผลงานแล้ว ยังนำเพลง ประจำมหาวิทยาลัยคือเพลง Santa Lucia มาเรียบเรียงใหม่ อีกทั้งยังแต่งเพลงขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้ผู้คนที่เข้าชมงาน ได้ซึมซาบความรู้สึก และความสวยงามในความหมายของคำอาจารย์ศิลป์ " ศิลปะืยืนยาว ชีวิตสั้น { Ars Longa Vita Brevis} "



Designer : โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ (คณะมัณฑนศิลป์)
Sound Collaborator : ศิรษา บุญมา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



ท้องพระโรง ตำหนักพรรณราย
เพราะ ปัจจุบัน คือ อดีต ของอนาคต ศิลปินต้องการเชื่อมโยงเรื่องราวของอดีตกับปัจจุบันที่เกิดขึ้นในสถานที่คือ ท้องพระโรง จำหนักพรรณราย เรื่องราวในอดีตนั้นคือเหตุผลของปัจจุบัน และความเป็นไปในอนาคต
ผลงานชิ้นนี้ได้สร้างบทสนทนาระหว่างภาพกับเสียงที่เกิดขึ้นผ่านโบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์ และเรื่องเล่าต่างๆ ืั้งในแง่ของความลี้ลับ ความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของแต่ละบุคคลที่อาศัยอยู่ในรั้ววัง เพื่อให้ผู้คนในสมัยปัจจุบันได้รู้สึก และรับรู้ถึงวิถีชีวิต และจำลองบรรยากาศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต


Artist : เอนกพงษ์ สุวรรณพุฒ ศุภชัย ปัญญากาวิน สินา วิทยวิโรจน์
และน้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์ (คณะ จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)

Sound Collaborator : ณัฐพล เพียรเพ็ญศิริวงศ์
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)



เสียงกระซิบจากประติมากรรม
ประติมากรรม เป็นศิลปกรรมที่แสดงความงามทางรูปทรง ผ่านการรับรู้ได้ด้วยสายตา และการสัมผัสด้วยมือ สู่จิตใจ จากความงามดังกล่าวก็น่าจะแปลค่ามาเป็นสนุทรีย์ของเสียงที่มาจากรูปทรงประติมากรรมได้โดยตรง







Artist : นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ (คณ
จิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์)
Sound Collaborator : วรงค์ ราชปรีชา
(คณะดุริยางคศาสตร์ สมาชิก HAPPINESS IMAGINATION)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น